CPA (THAILAND)

Search
Close this search box.

CENTER FOR PROFESSIONAL ASSESSMENT (THAILAND)

CPA (THAILAND)

ความรับผิดชอบขององค์กรต่อสังคมส่งเสริมการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตอย่างยั่งยืน

โครงการพัฒนาศักยภาพ” ครูต้นแบบ”

ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ฉบับที่ ๔ พ.ศ. ๒๕๕๐-๒๕๕๙ ในด้านการศึกษาที่ทรงมุ่งเน้นให้เด็กและเยาวชนเป็นศูนย์กลางของการพัฒนาโดยใช้การศึกษาเป็นหลัก   สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีโปรดเกล้าให้สำนักงานโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดน และเซ็นเตอร์ฟอร์โปรเฟสชั่นแนลแอสเซสเม้นท์ (ประเทศไทย) รับผิดชอบและดำเนินการโครงการนำร่อง การฝึกอบรมอบรมเชิงปฏิบัติการเตรียมความพร้อมบุคลากรครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน เพื่อทำการสอนภาษาอังกฤษนักเรียนระดับชั้นวัpก่อนเรียนถึงชั้นประถมปีที่ ๖ สังกัดโรงเรียนตำรวจตระเวนชานแดน ที่ ๑๒ และ ๑๑ รวมทั้งสิ้น ๑๘ โรงเรียนในสังกัดกองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน

 

  โดยมุ่งเน้นให้ครูที่เข้าร่วมอบรมได้มีโอกาสพัฒนาพื้นฐานภาษาอังกฤษของตนเอง พร้อมทั้งยังได้รับรู้และฝึกฝนเทคนิคการสอนเด็กที่เป็นกลุ่มเป้าหมายและสามารถนำไปใช้ได้จริงในกระบวนการเรียนการสอน ให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ (Literacy) สอดคล้องกับมาตรฐานและดัชนีชี้วัด (Performance indicators) ของหลักสูตรแกนกลางของกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ดำเนินการฝึกอบรมจึงได้นำกิจกรรมต่างๆ เป็นตัวอย่างการบูรณาการภาษาอังกฤษกับกลุ่มสาระการเรียนรู้อื่นๆทั้ง ๘ กลุ่มสาระ มาใช้ในระหว่างการอบรม เพื่อให้คณะครูโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนได้ไปประยุกต์ใช้ตามความเหมาะสมของบริบทของโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนต่อไป

เพื่อให้การพัฒนาและขยายผลเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ปี พ.ศ. ๒๕๕๐ ผู้รับผิดชอบโครงการได้คัดเลือกบุคลากรครู ตชด. เพื่อปฏิบัติหน้าที่เป็น “ครูต้นแบบ” ภายใต้ชื่อว่า Border Patrol Police/ Master English Teacher (BPP/MET) เพื่อทำหน้าที่ต่อยอดองค์ความรู้และทักษะต่างๆให้กับครูตชด. ทั่วโรงเรียนภายในสังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๑ และ ๑๒ จังหวัดสระแก้ว  

 คณะวิทยากรร่วมกับฝ่ายการศึกษากองกำกับตำรวจตระเวนชายแดน ได้ออกติดตามผลเป็นระยะ เพื่อประเมินพัฒนาด้านทัศนคติทั้งผู้สอนและผู้เรียนที่มีต่อภาษาอังกฤษ  ทักษะการใช้ภาษา เทคนิคการสอน การพัฒนาและการเลือกใช้สื่อต่างๆที่หาได้ในชุมชน รวมทั้งติดตามผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน   และเพื่อให้การฝึกอบรมดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องและเหมาะสม เซ็นเตอร์ฟอร์โปรเฟสชั่นแนลแอสเซสเม้นท์ (ประเทศไทย) จึงได้ออกแบบและจัดสร้างอาคารเอนกประสงค์ภายในบริเวณกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๒  ซึ่งได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อว่า อาคารเฉลิมพระเกียรติ พร้อมอัญเชิญพระนามาภิไธยย่อ “ส.ธ” ที่อาคาร    

ด้วยพระมหากรุณาธิคุณองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเพิ่มโอกาสในการเสริมสร้างประสบการณ์ และการต่อยอดของวิทยากรครูต้นแบบในการพัฒนาภาษาได้โปรดเกล้าฯ ได้จัดให้มีการอบรมเพื่อศึกษาดูงานในต่างประเทศระยะสั้น ณ ประเทศนิวซีแลนด์ รวม ๔ รุ่น รวม ๑๖ นาย

โครงการพัฒนาศักยภาพบุคลากรครู

(Teacher Training Development Program)

ตั้งแต่ปี ๒๕๔๘ เป็นต้น เซ็นเตอร์ฟอร์โปรเฟสชั่นแนลแอสเซสเม้นท์ (ประเทศไทย)   ดำเนินการฝึกอบรมเสริมความพร้อมครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาต่างประเทศ (ภาษาอังกฤษ) โรงเรียนในพระราชานุเคราะห์ในสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยมีโรงเรียน โรงเรียนไผ่ดำ (แผนกสามัญศึกษา) โรงเรียนพระตำหนักสวนกุหลาบ โรงเรียนวัดปทุมวนารามในพระราชูปถัมภ์ฯ  โรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน สังกัดกองกำกับการตำรวจตระเวนชายแดนที่ ๑๑ และ ๑๒ ร่วมการอบรมอย่างต่อเนื่องจนต้องเว้นไปในช่วงทีมีมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด ๑๙  ในการอบรม เซ็นเตอร์ฟอร์โปรเฟสชั่นแนลแอสเซสเม้นท์ (ประเทศไทย)   ได้จัดนอกสถานที่ในจังหวัดต่างๆ เพื่อนำภูมิปัญญาท้องถิ่นเป็นศูนย์กลางการอบรมแต่ละครั้ง  เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในเรื่องการบูรณาการกลุ่มสาระต่างๆให้เข้ากับเรื่องได้ไม่จำกัด ไม่ว่ากลุ่มสาระภาษาไทย  ภาษาอังกฤษ  คณิตศาสตร์  สังคมศึกษา  ศิลปะ การงานอาชีพ หรือ สุขศึกษา

ที่ผ่านมาได้พาบุคลากรครูไป

  • อำเภอปากช่อง เพื่อศึกษาเรื่องช้างไทยและบทบาทการศึกษาเรื่องช้างในการอนุรักษ์ธรรมชาติ 
  • จังหวัดสุโขทัย เพื่อเพิ่มเติมความรู้เรื่องการทำย่าม เรื่องลายผ้าพื้นเมือง สังคโลกสุโขทัย
  • ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีพคนตาบอกและพิการซ้ำซอน นครนายก  เป็นต้น